ลูกจ้างจะได้ชราภาพคืนเมื่อมีอายุครบ 55 ปีและความเป็นผู้ประกันตนก็จะสิ้นสุดลงแล้ว เมื่ออายุครบ 55 ปีแล้วไม่ใช่จะได้เงินในทันทีจะต้องลาออกจากที่ทำงานและออกจากประกันสังคมด้วย  หากยังทำงานอยู่แล้วส่งเงินสมทบไม่ว่าจะมาตรา 33 หรือมาตรา  39  ถึงแม้อายุจะครบ 55 ปีแล้ว  ก็ยังไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินชราภาพ และผู้ที่ต้องการขอรับเงินคืนจะต้องทำเรื่องขอคืนเงินชราภาพประกันสังคม   ภายในระยะเวลา  1  ปีนับจากที่ลาออกจากกองทุนประกันสังคมมิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิ์รับเงินบำนาญบำเหน็จทันที

เงินชราภาพบำเหน็จและบำนาญของประกันสังคมจะขอคืนได้เมื่อไหร่และใครมีสิทธิ์บ้าง
จะต้องทราบก่อนว่าเมื่อออกจากประกันสังคมเพื่อที่จะรับเงินชราภาพจะทำให้เสียสิทธิ์อื่น ๆ ของประกันสังคมตามไปด้วย   โดยเฉพาะสิทธิ์รักษาพยาบาลที่จะต้องเปลี่ยนมาใช้บัตรทองแทน  ถ้าหากไม่มีประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุ  ก็ต้องจ่ายเองเมื่อเข้าโรงพยาบาล

ขอคืนเงินชราภาพก่อนอายุ  55  ปีได้หรือไม่?
สมมุติว่านายเอส่งเงินครบ  15  ปี    และลาออกจากงานพร้อมลาออกจากประกันสังคมเมื่ออายุ  40  ปีกรณีนี้นายเอ  จะขอรับเงินชราภาพได้เลยหรือไม่ คำตอบคือไม่ได้  ถึงจะส่งเงินครบ 15 ปี  หากอายุยังไม่ถึง 55 ปีก็ต้องรอจนกว่าอายุจะครบถึงจะได้เงินส่วนนี้  เพราะเงินชราภาพคือ  ให้ทุกคนมีเงินบำนาญรายเดือนหลังเกษียณและไม่ต้องห่วงถ้าหากตัวเองอายุยืนแล้วจะมีเงินสมทบไม่พอใช้จ่าย มีข้อยกเว้น 2 ข้อที่สามารถรับเงินชราภาพคืนก่อนอายุ 55 ปี คือ

1. ผู้ประกันตนได้กลายเป็นผู้ทุพพลภาพก่อนอายุ  55 ปี  จะได้คืนเป็นเงินบำเหน็จ
2. ผู้ประกันตนตายก่อนอายุ  55  ปี   ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จเท่านั้นไม่มีสิทธิ์รับบำนาญถึงจะส่งครบ  15  ปีก็ตาม

ปัจจุบันนี้ ประกันสังคมได้มีแผนที่จะเตรียมขยายอายุผู้ที่รับผลประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ  จากอายุ  55  ปีขยายเป็น 60  ปี  เพื่อให้สอดคล้องเข้ากับโครงสร้างของประชากรที่กำลังจะเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ ทางประกันสังคมได้ระบุว่าการขยายอายุเกษียณทำให้ได้เงินบำนาญระยะเวลานานขึ้น  เช่น  ส่งเงินสมทบตอนอายุ 30 ปีจนถึง 55 ปี   ก็จะได้รับเงินบำนาญเดือนละ 5,250 บาท ถ้าขยายเวลาการทำงานจนถึงอายุ  60  ปี   ก็จะได้รับบำนาญเพิ่ม  7.5%  จะทำให้บำนาญเพิ่มอีก  42.5%  คิดเป็นเดือนละ 6,375 บาท  รับเงินเพิ่มขึ้นอีก 1,125  บาทไปตลอดชีวิต